วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

                                              บทความฐานข้อมูลภาษาไทย 5 เรื่อง

เรื่องที่ 1
ชื่อบทความ : แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ชื่อผู้แต่ง : ธนันรักษ์ วัชราธร1, วรวุฒิ เพ็งพันธ์1, สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์1
ที่อยู่
1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://www.edu.buu.ac.th/vesd/a2560-1.pdf
ชื่อวารสาร : วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม  ปีที่ : 13  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 260-275  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2) สำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผู้ให้ ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 10 คน และการสนทนากลุ่ม ผู้ร่วม สนทนากลุ่มเลือกอย่างเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 8 คน มีดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพ 2) เจ้าหน้าที่ทางด้าน การท่องเที่ยว 3) นักวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวและการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และแบบประเด็นการสนทนากลุ่ม วิธีการวิจัยประกอบด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีความต้องการคือ การมีสุขภาพที่ดี (Healthy) การมีส่วนร่วม (Participation) และการมีหลักประกันหรือความมั่นคง (Security) 2) แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีทั้งภายในและภายนอกชุมชนโดย จัดได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวิถีไทย 2) รูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวประเภท ธรรมชาติ และ 3) รูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวประเภทนันทนาการ 3) แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกได้เป็น 3 มิติ 3.1) มิติด้านสุขภาพ หน่วยงานภาครัฐควร มีนโยบายขยายเวลาการเกษียณอายุราชการเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพทางด้านจิตใจให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าใน ตนเอง เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี คือกลุ่มผู้สูงอายุมีพลัง หรือ ภาวะพฤฒิพลัง (Active aging) เป็นช่วงสูงสุดทั้งในด้านประสบการณ์ ภูมิปัญญา มีพร้อมต่อการทำงาน 3.2) มิติด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยควรมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและกำหนดการ ท่องเที่ยวแบบมุ่งเป้าไปยังผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ 3.3) มิติด้านการศึกษา ชมรมผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ ของผู้สูงอายุ

เรื่องที่ 2
บทความเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษาตลอดชีวิต

                ในโลกยุคปัจจุบันนี้ได้ชื่อว่าเป็นโลกยุคของข้อมูลข่าวสารเนื่องมาจากการติดต่อเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว   โดยความเจริญก้าวทางด้านเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างมากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากที่ครูเป็นศูนย์กลางมาสู่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องได้รับความรู้จากครูในห้องเรียนเท่านั้นแหล่งความรู้อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่  ชุมชน  เพื่อน  ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้น เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้น ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี การศึกษา

เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย คือ

1.        ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว

2.        ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด

3.        ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

        เทคโนโลยีสมัยใหม่การศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น

              จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่

ส่วนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตนั้น พบว่ารูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียนของประเทศด้อยพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชน ได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการศึกษา  เพราะประชาชนที่มีฐานะดีเท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการศึกษา ส่วน คนยากจนขาดโอกาสในการศึกษา แม้รัฐบาลต่างๆ ได้ทุ่มเทงบประมาณการศึกษาสูงมากก็ตาม แต่การศึกษาไม่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะผู้อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล รัฐบาลยิ่งพัฒนาคนรวยกลับรวยยิ่งขึ้น คนจนกลับจนลง จึงทำให้มีการเรียกร้อง ให้มีการปฏิรูปการศึกษา มนุษย์เรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต นั้นคือการรวมเอาการศึกษาในระบบโรงเรียน ( Formal Education) นอกระบบโรงเรียน (Informal Education)เข้าด้วยกัน คนเราสามารถเลือกศึกษาได้ในช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิตตามความเหมาะสม การศึกษา และการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งไม่ว่าจะ ในครอบครัว วัด ชุมชน สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ และแหล่งวิชาต่างๆ การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นความจำเป็นของมนุษย์ปัจจุบัน

               การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
               การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่ายิ่งที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จำเป็นในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป

เรื่องที่ 3
บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี
นาโนเทคโนโลยีคืออะไร
 “นาโนเทคโนโลยี” หมายถึงเทคโนโลยีประยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการ การสร้าง การสังเคราะห์วัสดุหรืออุปกรณ์ในระดับของอะตอม โมเลกุลหรือชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กในช่วงประมาณ 1 ถึง 100 นาโนเมตร ซึ่งจะส่งผลให้วัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ มีหน้าที่ใหม่ๆ และมีคุณสมบัติที่พิเศษขึ้นทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้สอยและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
คำว่า “นาโน (Nano)” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีกว่า Nanos ซึ่งแปลว่าแคระหรือเล็ก
เมื่อนำคำว่า นาโน มาใช้นำหน้าหน่วยวัดทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ จะหมายถึงขนาดเศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหน่วยวัดนั้น
คำว่านาโนเมตร มาจากคำ 2 คำมารวมกัน คือ คำว่า “นาโน” กับ “เมตร” ดังนั้นคำว่านาโนเมตรจึงหมายถึงหน่วยวัดที่มีขนาดเท่ากับ “เศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหนึ่งเมตร” นั่นคือ

หนึ่งนาโนเมตร (1 nm) = เศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหนึ่งเมตร

                                      =           1             = 0.000 000 001 เมตร

                                         1 000 000 000

                                       = 10-9

ขนาด 1 นาโนเมตรนั้นมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ประมาณ 8 หมื่นถึง 1 แสนเท่า โดยขนาดสิ่งของที่เล็กที่สุดที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นมีขนาดประมาณ 10,000 นาโนเมตร ดังนั้นขนาดหนึ่งนาโนเมตรจึงเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือแม้แต่การใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ดังนั้นการที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถมองเห็นขนาดเล็กระดับหนึ่งนาโนเมตรได้นั้นจะต้องให้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงมาก เช่น กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน หรือ กล้องจุลทรรศน์ชนิดใหม่ๆที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาและวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีโดยเฉพาะ

ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ทุกประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (KnowledgeSociety) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าการใช้เงินทุนและ
       ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น “สารสนเทศ” นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ “ไร้พรหมแดน” อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information)ก็ตาม (ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ .2541
        การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบท ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ในลักษณะ เศรษฐศาสตร์เครือข่าย หรือที่เรียกว่า (networked economy) มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว(เพียงแค่กดเม้าส์ของคอมพิวเตอร์)เสมือนดังไม่มีพรมแดนของประเทศ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ ทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระหว่างประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ส่งผลให้โลกมีสภาพ เหมือนเป็นหนึ่งเดียว มีการแข่งขันสูงผลกระทบในวงกว้าง (systemic and dynamism ) ต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนที่ทำไห้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการปรับตัวพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ
 
   1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
   2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
   3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
   4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
   5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
   6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
   7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
   8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

เรื่องที่ 4
บทความเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการช่วยการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์ทางการศึกษานโยบายการจัดการศึกษาของรัฐจะต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนหรือที่เรียกว่า  การศึกษาเพื่อปวงชนทุกคนอันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาศทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษาเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาในปัจจุบันไม่ว่าเป็นเทคโนโลยีด้านการศึกษาเทคโนโลยีด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีทางด้านคมนาคมซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษาทั้งสิ้น เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม นักเรียนชนบทธุรกันดารสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับนักเรียนที่อยู่ในเมือง หรือ อยู่บ้าน โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเสียงบประมาณในการที่ จัดซื้อหาหนังสือมากมายเหมือนสมัยก่อนนอกจากนั้นผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่าว อิสระ นอกจากนั้นยังมีสื่อที่เป็น วิทยุ โทรทัศน์  ซีดีคอม สื่ออิเล็กทรอนิค ที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต
แต่แนวโน้มในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอนโดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเนื่องจากเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ ในการใช้เพื่อการเรียนการสอนผ่านเว็บซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง แต่ดิฉันรู้ศึกในส่วนตัวว่าอนาคตการศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะไม่มีคุณภาพโดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบและตามอัธยาสัยเหมือนกับที่อ่านในตำราเนื่องด้วยปัจจุบันนักศึกษาสามารถสืบหาข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดตำราแค่เพียงไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็เจอทำให้นักศึกษาบางคนอาจจะไม่ได้อ่านเนื้อหาเหล่านั้นให้เข้าใจอย่าถ่องแท้เป็นเพียงแค่สืบค้นแล้วนำมาตัดแปะปรับแต่งดังนั้นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องแนะนำให้นักเรียนนักศึกษาเข้าใจถึงประโยชน์และโทษที่แฝงมากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย
โพสต์เมื่อ 14th January 2013 โดย ปานไพลิน ปะวะภูตา

เรื่องที่ 5
บทความ เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีด้วยกันหลายด้านทั้งด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ การรักษา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ด้านธุรกิจ เพื่ออำนวจความสะดวกในด้านของการกระทำในเรื่องต่างๆที่ได้ยกตัวอย่างไป เพื่อทำให้ชีวิตเป็นอยู่ของเรานั้นดีขึ้น สะดวกขึ้น และอีกทั้งยังมีการนำด้านเทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาในเรื่องการสื่อสารให้สะดวกง่ายขึ้น รวดเร็ว ด้วยระบบอินเตอร์เน็ต

ด้านการศึกษา

เทคโนโลยีที่นำมาสำหรับการสอน เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความทันสมัยเพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการสอนนั้นง่ายและน่าสนใจขึ้นยิ่งขึ้น ห้องเรียนที่มีความเป็นสมัยใหม่จะมีอุปกรณ์ช่วยในการสอนเช่น คอมพิวเตอร์ (Computer) และอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector) เป็นต้น

“ระบบอินเตอร์เน็ต” ถือได้ว่าเป็นส่วนของการศึกษาที่ใหญ่มากในการศึกษา หาข้อมูล มาเพื่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนี้เวลาเราอยู่ที่ไหน ต้องการทำอะไร ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไร เราก็สามารถทำและหาข้อมูลได้จากที่นั้น เวลานั้น ได้เลย โดยไม่ต้องรออะไรทั้งสิ้น เพราะระบบอินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก บวกกับอีกทั้งในปัจจุบันมีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เป็นต้น ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาอันสั้น ทำให้เวลาเราต้องการที่จะทำอะไร หรือสืบหาค้นคว้าข้อมูล ก็สามารถทำได้เลย แต่ถึงยังงั้นการที่มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยในการให้ชีวิตง่ายขึ้น) อยู่ในปัจจุบันมาก และอีกทั้งยังใช้กันมากอีกด้วย ก็อาจจะมีผลร้ายตามมาด้วย เช่น การที่เด็กติดโทรศัพท์มือถือ เล่นแต่คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น การที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือประยุกต์ในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ควรใช้ให้ถูกวิธีด้วย

—>บทความที่กล่าวมานี้ได้ศึกษามาจาก datatan.net (http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0) <

เรื่องที่ 5
บทความ บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตปัจจุบัน

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ   เป็นรู้จักกันมากในหมู่วัยรุ่น  ซึ่งคนไทยรู้จักกันก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ  นั่นเอง ไม่ค่อยนิยมเรียกกันมากนัก ส่วนใหญ่มักจะเรียกกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสาเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือว่าเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทศโนโลยีนาโน เทคโนลีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบันมีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆว่า ไอที( IT ) รัฐบาลไทยก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนีขื้น ชื่อกะทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและกาสื่อสารหรือเรียกย่อๆว่า กระทรวงไอซีที
           เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่นคือมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส ( Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารเทศ

              โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้
    - เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
           ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น



 -เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย

   เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
-เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
   ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
-เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นางสาว สุภาพร เพียรดี ใน การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
                                                        บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 5 เรื่อง

เรื่องที่ 1
The Approaches to the Design of Integrated Quality Management Systems for the Digital Enterprise

Abstract:
The paper considers the approaches to the design of the integrated management systems of the digital enterprise (IMS) based on the methodology for the design of the corporate information systems, the design of enterprise architectures, system analysis, system and process modeling and the systems approach based on the integrated application of the standards.
Published in: 2018 IEEE International Conference "Quality Management, Transport and Information Security, Information Technologies" (IT&QM&IS)
Date of Conference: 24-28 Sept. 2018
Date Added to IEEE Xplore: 08 November 2018
 ISBN Information:
INSPEC Accession Number: 18232149
DOI: 10.1109/ITMQIS.2018.852504

เรื่องที่ 2
Analysis of Information Structure of the Corporate Network of Enterprise

Abstract:
The approach to designing a corporate network of the enterprise with the use of business modeling and mathematical modeling of the information structure of the network is shown. The possibilities of using the analysis of the information structure of the network to determine the composition of hardware and software and optimize the network structure are shown. A method of describing the information structure of the network are advanced. Results can be useful to designers and administrators of corporate networks.

เรื่องที่ 3
Digital Technology and Quality Management

Abstract:
Development of science and technology requires the development of new methods of quality management. Along with already existing methods and quality management systems new approaches. Article showing some areas for improvement of the existing and creation of new tools, techniques and quality management systems in the light of the development of digital technologies. In particular, the combination of known methods of quality management (TQM, Lean Production and other) and information technology (methods of Product Lifecycle Management (PLM), CALS-technologies, ERP ( Enterprise Resource Planning), PDM-system (Product Data Management), MES (manufacturing execution system), LIMS (Laboratory Information Management System), EAM (Enterprise Asset Management systems) and others) allows you to create new principles for a modern quality management system.

เรื่องที่ 4
Enterprise’s Innovative Infrastructure Development Model Based on Quality Function Deployment Method

Abstract:
The application of the QFD method for solving the problem of designing an innovative enterprise infrastructure is proposed. As requirements of the "consumer", the conditions for effective implementation of the company's innovation strategy are considered. Five alternative types of innovative strategies are identified. The requirements for each strategy to the level of development of the company's innovation infrastructure are determined. With the use of benchmarking technology and the expert assessments method, the matrix of the elements of the innovation infrastructure has been constructed to meet the requirements of the innovation strategy. As a result of the deployment of the quality function, two types of discontinuities were calculated: due to the existing innovation infrastructure as a whole, ensure successful implementation of the enterprise strategy and the degree to which each element of the innovation infrastructure corresponds to the requirements of the innovation strategy. The expediency of the use of cooperative interactions for the development of the innovation infrastructure is substantiated. A matrix model for the selection of the strategy for the development of the innovation infrastructure has been developed, taking into account the following parameters: the type and size of the gap, the organizational and financial complexity of the implementation of the reforms.

เรื่องที่ 5
The Stakeholders’ Feedback Mechanisms for Degree Programs Quality Assurance

Abstract:
The article is devoted to the quality management of degree programs based on the PDCA cycle. Due to the duration of bachelor's and master's degree programs, the PDCA cycle should be used constantly during providing educational services to make management decisions promptly improving the degree program quality. The article describes the feedback mechanisms of the PDCA cycle on the stage Check both for the whole degree program and for each semester. At the same time, the following stakeholders provide the feedback: students after each semester, graduates at their graduation time, young alumni, who have worked after their graduation for 1-2 years, and employers having graduates among the personnel. These feedback mechanisms will allow assessing Degree Program Quality in a complex way. The article contains the regulations on using feedback mechanisms and its implementation based on the experience of Saint Petersburg Electrotechnical University.

                                                 บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง
เรื่องที่ 1
Title: กระบวนการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Implementation process, problems and solution of the educational quality assurance : a case study of pilot school, Office of Uthaithanee Provincial Primary Education
Authors: สยาม สุ่มงาม
Advisors: นิศา ชูโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nisa.X@chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษา
คุณภาพการศึกษา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนนำร่อง ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เป็นระยะเวลา 4 เดือน เก็บข้อมูลในสนามจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ รวมทั้งการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี เริ่มดำเนินการปีการศึกษา 2541 ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี โดยขานรับนโยบาย 4 ประกัน มีการดำเนินงานโดยใช้กรอบซึ่งสอดคล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 3 ขั้นตอน 1) การควบคุมคุณภาพการศึกษา 2) การตรวจสอบ และปรับปรุงโรงเรียน และ 3) การประเมินคุณภาพโรงเรียนเพื่อการให้ใบรับรองมาตรฐานการศึกษา ในฐานะจังหวัดนำร่อง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี เข้าสู่ระบบประกันคุณภาพในขั้นตอน การควบคุมคุณภาพการศึกษา มีการปรับขยายเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนให้เหมาะสมกับท้องถิ่นด้วยการทำประชาพิจารณ์ (ขณะนี้ยังไม่เสร็จสิ้น) พร้อมทั้งจัดอบรมบุคลากร จำนวน 5 ครั้ง ซึ่งเป็นผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ จำนวน 50 คน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา นำไปถ่ายทอด และนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด จำนวน 260 โรงเรียน ปัญหาที่พบคือ การนำความรู้ไปถ่ายทอดของศึกษานิเทศก์ให้กับผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีการผนวกในงานปกติ คือ การประชุมผู้บริหารประจำเดือน น้อยแห่งที่ใช้การฝึก อบรมพิเศษทำให้ผู้บริหารโรงเรียนบางคนได้รับความรู้ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า การนิเทศ กำกับ ติดตาม การถ่ายทอดยังไม่เป็นระบบ และยังพบว่า ทัศนคติ และพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาบางคน ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงขาดความรู้ ความตระหนักในเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งงบประมาณมิได้มีการจัดสรรให้สอดคล้องกับโครงการประกันคุณภาพการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาของจังหวัด ด้านการถ่ายทอดความรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยศึกษานิเทศก์ของจังหวัดได้ดำเนินการนิเทศด้วยการให้คำแนะนำด้านวิชาการ กระตุ้นเตือนการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ให้เร่งรีบดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยการผนวกเข้ากับการประชุมผู้บริหารประจำเดือน และการให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี ด้านการขาดงบประมาณ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ได้มีนโยบายให้ดำเนินโครงการโดยใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวยังไม่ปรากฎผลที่ชัดเจน เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินงาน โรงเรียนนำร่องเข้าสู่ระบบประกันคุณภาพการศึกษาด้วยการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพการศึกษา เป็นการจัดทำมีไว้เพื่อ "ประกันตนเอง" เนื่องจากคณะกรรมการโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดทำเพียงบางส่วน ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นการจัดทำที่ถูกเร่งรัดด้วยเวลาเพียง 2 เดือน อีกทั้งคณะผู้จักทำยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชน และคณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ยังไม่เข้าใจ และไม่สนใจ บทบาท หน้าที่ของตน ในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน เพื่อชุมชน จากการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านโรงเรียน และสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนและด้านกระบวนการบริหาร ยังไม่ปรากฎผลการดำเนินงานที่เด่นชัด เนื่องจากขาดงบประมาณ และอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ

เรื่องที่ 2
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อด้วยกระบวนการเรียนรู้การฝึกการทำงาน: กรณีศึกษาในศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A study of state and problem of special needs students in transitional period on work-based learning at Educational Information Resources Center, Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: สุวิมล ธนะผลเลิศ
Email: suvimon@chulkn.car.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา
การศึกษาพิเศษ -- หลักสูตร
เด็กพิเศษ -- การทำงาน
การเรียนรู้
การฝึกงาน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการฝึกการทำงานที่เหมาะสม เพื่อการติดตามผลการฝึกการทำงาน และเสนอแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อด้วยกระบวนการเรียนรู้การฝึกทำงาน ในศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อ ของโครงการการศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน เป็นชายสมมติชื่อ มิวสิค เป็นหญิงสมมติชื่อ ลูกโป่ง ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบหลัก 3 ประการ ประการแรก จากการมอบหมายงานในระยะแรก 13 งานได้แก่ ประทับตราหนังสือ แยกประเภทหนังสือจัดหมวดหมู่ พิมพ์บัตร พิมพ์ซอง ติดแถบแม่เหล็ก ประทับตราวารสาร ตัดปะข่าวการศึกษา ซ่อมหนังสือ บริการวิทยานิพนธ์ ตรวจหนังสือและรับฝากสิ่งของ จัดเก็บจัดเรียงหนังสือภาษาไทยจัดเก็บจัดเรียงหนังสือภาษาอังกฤษ จัดเก็บจัดเรียงวารสารภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ บริการสื่อประสม และสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ พบว่ามิวสิคผ่านเกณฑ์ 6 งาน ไม่ผ่านเกณฑ์ 7 งาน ส่วนลูกโป่ง ผ่านเกณฑ์ 11 งาน ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 งาน ในระยะที่สองให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อเลือกคนละ 4 งาน ผู้เรียนที่ต้องการพิเศษทั้งสองคนเลือก งานใหม่ 2 งานคือ บริการคอมพิวเตอร์และบริการยืม-คืนหนังสือ ผลการฝึกการทำงานในระยะที่สอง พบว่าทั้ง มิวสิคและลูกโป่งผ่านเกณฑ์ 2 งาน ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 งาน ประการที่สอง ผลการติดตามการฝึกการทำงานของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อ จากกลุ่มผู้ใช้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษากลุ่มนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและผู้ปกครองมิวสิคและลูกโป่งโดยการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์พบว่า การเรียนรู้ด้วยกระบวนการฝึกการทำงานเป็นการให้โอกาส ให้ความหวัง ให้ประสบการณ์ ในการพัฒนาการเรียนรู้ ความสามารถและทักษะต่างๆ จากการทำงานจริง มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น กล้าพูดคุย สามารถปรับตัวได้ มีความภาคภูมิใจที่ได้ทำงาน มีความรับผิดชอบ สามารถช่วยงานผู้ปกครองได้มากขึ้น พฤติกรรมปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สามารถนั่งทำงานได้นานและ มีสมาธิมากขึ้น กระบวนการฝึกการทำงานในลักษณะนี้ทำให้ได้สัมผัสสภาพสังคมที่เป็นจริง ช่วยพัฒนาทักษะอารมณ์และสังคม ประการสุดท้าย กระบวนการฝึกการทำงานต้องมีกระบวนการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดควบคู่กันไปด้วย อีกทั้ง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมืออย่างจริงจังรวมทั้งให้ความรัก ความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จะสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อมีความพร้อมในการพึ่งพาตนเองมากขึ้น ช่วยปลูกฝังทักษะการทำงานให้มีระบบ ระเบียบ มีความอดทน มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุขข้อเสนอแนะ หน่วยงานต่างๆ อาจ ใช้กระบวนการฝึกอบรมเช่นเดียวกันนี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในระยะส่งต่อได้พัฒนาทักษะการทำงานอันนำไปสู่ความสามารถในการประกอบอาชีพต่อไป

เรื่องที่ 3
Title: การปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพในสายการผลิตของโรงงานตู้เย็น สำหรับมาตรฐาน มอก. 9000
Other Titles: Improvement of quality inspection systems in the production line of a refrigerator factory for the Iso 9000
Authors: ธนา บุญประสิทธิ์
Advisors: ชูเวช ชาญสง่าเวช
ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มุ่งปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพในส่วนของการตรวจสอบคุณภาพของขึ้น ส่วนจ้างผลิตและการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิต โดยใช้โรงงานผลิตตู้เย็นแห่งหนึ่งเป็นกรณีศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อปรับปรุงระบบคุณภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งการมีระบบการประเมินผลและติดตามการทำงานที่ดี เพื่อคงประสิทธิภาพการทำงานไว้อย่างต่อเนื่อง 2) เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกไป เป็นที่เชื่อถือของลูกค้า และเป็นการเตรียมการในการดำเนินงานตามระบบคุณภาพอนุกรมมาตรฐาน มอก. 9000 ในการวิจัยนี้ได้ทำการปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพโดย 1) จัดทำและปรับปรุงระบบเอกสารสำหรับใช้ในการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ คำสั่งปฏิบัติงาน คู่มือทางเทคนิค ใบรายงาน และเอกสารสนับสนุนต่าง ๆ ที่ใช้ในการบันทึกคุณภาพสำหรับนำมาใช้ในการประเมินผลการทำงานและการปฏิบัติการแก้ไข 2) อบรมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน และ 3) ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน รวมทั้งการวางระบบการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบในการตรวจสอบคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพดูจะช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น โดยวัดผลได้จากการที่ขึ้นส่วนจ้างผลิตพบข้อบกพร่องและมีจำนวนครั้งของการส่งคืนลดลง 22% และการสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปพบข้อบกพร่องลดน้อยลง 41%

เรื่องที่ 4
Title: การจัดตั้งระบบประกันคุณภาพในโรงงานผลิตน้ำตาลซอร์บิทอล
Other Titles: Quality assurance system set-up in sorbitol manufacturing
Authors: ชูศักดิ์ อนุชาติบุตร, 2519-
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suthas.R@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมน้ำตาล--การควบคุมคุณภาพ
การบัญชีต้นทุนกิจกรรม
ประกันคุณภาพ
โรงงานผลิตน้ำตาลซอร์บิทอล
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเพื่อจัดตั้งระบบประกันคุณภาพในโรงงานผลิตซอร์บิทอลและต้นทุนคุณภาพเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงงานตัวอย่าง พบว่า ทางโรงงานตัวอย่างประสบปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนคุณภาพของสินค้าค่อนข้างมาก และทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้เสนอให้มีการจัดตั้งระบบประกันคุณภาพขึ้น ในโรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพดังกล่าว โดยมีขั้นตอนในการจัดตั้งดังนี้ 1. การจัดตั้งระบบประกันคุณภาพ ผ่านหน่วยงานประกันคุณภาพ 2. การจัดตั้งเป้าหมายของระบบการประกันคุณภาพ 3. กำหนดอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานประกันคุณภาพ 4. การดำเนินการจัดทำระบบประกันคุณภาพในโรงงานตัวอย่าง แต่ในการจัดตั้งระบบประกันคุณภาพนั้น ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จะใช้ต้นทุนคุณภาพในการวัดประสิทธิภาพ ว่าสมควรมีระบบประกันคุณภาพหรือไม่ ผลที่ได้จากการดำเนินงานวิจัย คือ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งระบบประกันคุณภาพ ต้นทุนคุณภาพต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ Syrup, Sugar Sorbitol และ Sorbitol compound คือ 17.170, 15.632 และ 31.089 บาท/หน่วยตามลำดับ แต่ระบบประกันคุณภาพช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ Syrup, Sugar Sorbitol และ Sorbitol compound คือ 16.766, 15.411 และ 32.335 บาท/หน่วยตามลำดับ ซึ่งเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ในเดือนมิถุนายน 2547 = 876,037.54 บาท แสดงให้เห็นว่าการจัดตั้งระบบประกันคุณภาพในโรงงานตัวอย่างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องที่ 5
Title: การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือสำหรับการจัดการกระบวนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์
Other Titles: Design and development of a tool for managing software quality assurance process
Authors: นริสา นุ่มสร้อย, 2516-
Advisors: ธาราทิพย์ สุวรรณศาสตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Taratip.S@chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพ
ซีเอ็มเอ็ม (ซอฟต์แวร์)
ซอฟต์แวร์ -- การควบคุมคุณภาพ
การออกแบบระบบ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ เพื่อออกแบบ และพัฒนาเครื่องมือสำหรับการจัดการกระบวนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ เครื่องมือนี้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ โดยอ้างอิงมาตรฐานซีเอ็มเอ็ม ระดับที่ 2 โดยผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนแม่แบบของแผนการประกันคุณภาพ แบบสอบถาม รายงานสรุปการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์โครงการ และรายงานประจำงวดได้ เครื่องมือดังกล่าวช่วยจัดการดึงข้อมูลจากแผนกำหนดการของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ และจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จัดการแผนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในองค์กร จัดการข้อมูลเกี่ยวกับแผนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ กำหนดระดับความรับผิดชอบ และออกรายงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ รวมทั้งยังช่วยติดตามสถานะของกระบวนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ได้อีกด้วย เนื่องจากเครื่องมือนี้ได้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานได้บนสภาพแวดล้อมแบบผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และแบบเว็บ ดังนั้นผู้ใช้สามารถใช้งานเครื่องมือนี้ได้ทั้งทางอินทราเน็ต และหรืออินเตอร์เน็ต จากการทดลอง ผลปรากฏว่า เครื่องมือสำหรับการจัดการกระบวนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ สามารถทำงานได้ตามกระบวนการที่ออกแบบไว้ และมีคุณสมบัติครอบคลุมข้อกำหนดของกระบวนการเอสคิวเอในซีเอ็มเอ็ม ระดับที่ 2 สำหรับองค์กรที่ทดลองเครื่องมือนี้ สามารถดำเนินการตามกระบวนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ ทั้งในส่วนกิจกรรมเอสคิวเอ และส่วนเอสคิวเอโครงการซอฟต์แวร์ รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้น และสร้างรายงานได้ ทำให้กระบวนการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ในองค์กรนั้นเป็นไปอย่างมีระบบ ระเบียบ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

การจัดทำข้อมูลระบบสารสนเทศของสถานศึกษาที่สังกัด




Portfolio แฟ้มสะสมงาน




































.





























.




























































































 


































            RUETAI    SINPRASONG
                    Deputy  Director
              Phetkasem Management Technological College










                Profile
·       ข้อมูลส่วนตัว
นางฤทัย                                นามสกุล                               สินประสงค์
วัน/เดือน/ปี/เกิด   วันที่ 30  เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2514 
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม สังกัด  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน    กระทรวงศึกษาธิการ
ตำแหน่ง              รองผู้อำนวยการ                                               โทรศัพท์มือถือ   081-866-5403
โทรศัพท์                0-2811-2590-3                             โทรสาร                         0-2811-2590-3
·       ประวัติการศึกษา
ระดับปริญญาตรี    สาขาการจัดการทั่วไป     สถาบัน  วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา     2536
ระดับ ป.บัณฑิต      สาขาวิชาชีพครู                สถาบัน   มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี               2546
ระดับ ป.บัณฑิต      สาขาวิชาชีพครู                สถาบัน   มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี               2551
·       ประวัติการทำงาน
        ใน ปี พ.ศ. 2537 - 2538   เป็นครูโรงเรียนวิบูลย์บริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  ปฏิบัติงานด้านการสอน และงานทะเบียน
ใน ปี พ.ศ.  2538 ถึงปัจจุบัน   ปฏิบัติงานที่วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม เปิดสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ   (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)   ซึ่งเป็นสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษาเอกชน
- พ.ศ. 2537 2544                           อาจารย์ประจำ
- พ.ศ. 2545 2546                           ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการ / นายทะเบียน
- พ.ศ. 2547 –  2557                        ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายแนะแนว / นายทะเบียน
- พ.ศ. 2558 ถึง ปัจจุบัน                  รองผู้อำนวยการ / หัวหน้างานทะเบียนและนายทะเบียน
·       หลักในการทำงาน
        หลักในการทำงานในบทบาทของการบริหารงานด้านการศึกษา  คือ  การครองตนเพื่อฝึกตนเองและพัฒนา
ตนเองด้านการศึกษาให้สามารถทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น  การครองคนเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข  และทำประโยชน์สร้างความสุขเพื่อผู้อื่น  และสังคม  และ   การครองงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการบริหารงานด้านการศึกษาและสร้างความสำเร็จทางด้านการศึกษาให้กับเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
·       ผลงานและความภาคภูมิใจ
1.             ผลงานดีเด่น เกียรติบัตรเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2542
สมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 
2.             ผลงานดีเด่นในการบริหารงานด้านการศึกษา  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์  ชั้นที่  5   ชื่อ  เบญจมดิเรกคุณาภรณ์    เมื่อวันที่  5   ธันวาคม
พุทธศักราช  2546
3.             ผลงานดีเด่น เกียรติบัตรผู้บริหารดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2553 สมาคมโรงเรียน
อาชีวศึกษา    เอกชนแห่งประเทศไทย   
4.             ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติและเกียรติบัตร “หนึ่งแสนครูดี” ประจำปีการศึกษา 2554
ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา
     5.   ผลงานดีเด่นในการบริหารงานด้านการศึกษา  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์  ชั้นที่   4   ชื่อ  จตุตถดิคุณาภรณ์     เมื่อวันที่   5   ธันวาคม 
พุทธศักราช  2546
     6.  ได้รับโล่เกียรติคุณ “ครูเพชรน้ำหนึ่ง” เนื่องในโอกาสวันสถาปนาครบรอบ 20 ปี
วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2557


                              รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ